เทคนิคการสร้างภาพมีดังนี้
1. เทคนิคการเขียนอารมณ์ใบหน้า
2. เทคนิคการออกแบบใบหน้า
3. เทคนิคการวาดท่าทาง
4. เทคนิคการแสดงอารมณ์ทางใบหน้าและท่าทาง
มุมมองของภาพ
1. ภาพไกลมาก หรือ Extreme Long Shot (EXS)
2. ภาพไกล หรือ Long Shot (LS)
3. ภาพปานกลาง หรือ Medium Shot (MS)
เทคนิคการสร้างภาพ
1. เทคนิคการเขียนอารมณ์ใบหน้า
อารมณ์โกรธ - ใบหน้าแรกที่เราจะมาเรียนรู้กันคือใบหน้าโกรธ ถ้าเราเคยสังเกตดีๆ คนโกรธส่วนใหญ่มักมีใบหน้าที่ค่อยๆ แดงขึ้น เราอาจใช้ลูกเล่นเป็นการทำหน้าสีต่างๆ และเราอาจมีลูกเล่นโดยการใช้เป็นลักษณะควันออกตามใบหูหรือมีเส้นเลือดปูดขึ้นบน ใบหน้า จะเป็นลักษณะของการโกรธจัด เราจะดึงจุดเด่นของภาพคนโกรธมาจากคิ้วตานั่นก็คือปลายจะยกขึ้นคิ้วจะชนกัน ส่วนตาก็จะสามารถแสดงออกได้ในลักษณะเดียวกัน
อารมณ์เสียใจ - ใบหน้าต่อมาที่เราจะมาเรียนรู้กัน คือใบหน้าเศร้าเสียใจ ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจากใบหน้าแรกนัก เพราะจุดเด่นจะอยู่ที่ส่วนคิ้วกับส่วนตา ใบหน้าเสียใจจะแตกต่างจากใบหน้าแรกเพราะปลายคิ้วและตาจะตกลง อาจเพิ่มความรู้สึกด้วยการทำให้มุมปากตกลงมาด้วยเช่นกัน หรือจะเพิ่มลูกเล่นด้วยการใส่น้ำตาเพื่อเพิ่มความรู้สึกเศร้าเสียใจมาก
อารมณ์ยิ้มและหัวเราะ-ใบหน้ายิ้มเป็นใบหน้าที่ดูสดใสและวาดได้อารมณ์ง่ายที่สุด เพราะสามารถใช้เป็นลักษณะของเส้นโค้งได้ทั้งหมด ทั้งคิ้ว-ตาและปาก ส่วนลักษณะหัวเราะจะมีเฉพาะส่วนปากเท่านั้นที่แตกต่างกันออกไปเพราะอาจจะวาด เป็นลักษณะอ้าปากกว้างๆ เห็นฟันก็ได้ด้วย
2. เทคนิคการออกแบบใบหน้า
ภาพหน้าตรง เป็นมุมที่วาดง่ายที่สุดและเป็นพื้นฐาน ดวงตาซ้าย-ขวาต้องตรงกัน ได้สัดส่วน ส่วนจมูกอาจจะไม่สมดุลเพื่อแสดงความสูง ปากอยู่กึ่งกลาง การวาดใบหน้า ถ้าใบหน้ามีแต่หน้าตรงอย่างเดียว ภาพก็จะไร้ชีวิตชีวา
ภาพหันข้างนิดๆ เป็นมุมที่วาดแล้วสวยที่สุดเพราะดูมีมิติ มุมอวัยวะทุกส่วนบนใบหน้าเฉียงวางไปใน ข้างใดข้างหนึ่งที่หัน เห็นใบหน้าในข้างหนึ่ง ใหญ่กว่า และเห็นส่วนใบหูของข้างนั้นๆด้วย
ภาพหน้าเงย หัวจะเล็ก คางใหญ่ ส่วนจมูกเชิดขึ้น ให้จมูกอยู่กลางตากับหูก็จะลดตำแหน่งต่ำลงสรุปว่าจะเห็นส่วนคางใหญ่กว่าส่วนหัว
ภาพหน้าก้ม ตรงข้ามกับเงยหน้าหัวใหญ่ คางเล็ก จมูกลู่ลง ตากับคิ้วจะเห็นชัดและใหญ่กว่าส่วนอื่นถ้าเห็นหูส่วนหูก็จะสูงขึ้น
3. เทคนิคการวาดท่าทาง
การเคลื่อนไหวแบบปกติ การเดินแบบนี้จะเดินตรงธรรมดา สังเกตุลักษณะการวาดได้จากเท้าข้างหนึ่งจะยกก้าว อีกข้างหนึ่งจะเหยียบปลายเท้า การเดินปกติจะเป็นการสลับเท้าไปมา โดยมีเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เหยียบอยู่บนพื้น ไม่ลอยทั้ง 2 เท้า ส่วนมือก็ทำกริยาตามปกติ
การเคลื่อนไหวแบบเดินหนี เท้าทั้ง 2 ข้างอาจไม่ติดพื้น เป็นลักษณะ การกึ่งเดินกึ่งวิ่ง มือทั้ง 2 ข้างอาจทำท่าคล้ายๆ กับการวิ่งคือเหยียดมือ หรือกำมือเล็กน้อย
การเคลื่อนไหวแบบเดินแถว คือเป็นลักษณะการเดินแถวของทหาร หน้าจะมองตรง กำมือหรือเหยียดมือลักษณะของเท้าและมือจะเป็นแนวจังหวะเดียวกันคือเท้าใด ไปข้างหน้า มือข้างนั้นจะไปข้างหลังขาจะมีลักษณะเหยียดตรงไม่งอเข่า การเดินจะมีเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เหยียบอยู่บนพื้น ไม่ลอยทั้ง 2 เท้า
การเคลื่อนไหวแบบวิ่งไล่จับ อาจดูผิดหลักจากความเป็นจริง แต่เพื่อการใส่อารมณ์ การวิ่งนั้น เท้าข้างหนึ่งๆ จะลอยอยู่เหนือพื้น เป็นลักษณะของการสาวเท้ายาวๆ อาจจะโน้มตัวมาข้างหน้าเพื่อให้ดูเหมือนว่าวิ่งไล่อยู่
4. เทคนิคการแสดงอารมณ์ทางใบหน้าและท่าทาง
ใบหน้าและท่าทางของการ์ตูนนั้นควรต้องสอดคล้องกันเพื่อให้การ์ตูนดูสมจริงมากยิ่งขึ้นตกใจ ลักษณะใบหน้าและท่าทางของคนตกใจควร สอดคล้องกันคือใบหน้า จะตื่นตระหนก (สังเกตดูจากตาและคิ้ว) คนตกใจส่วนมาก จะทำอะไรไม่ถูก การวางท่าทาง ก็จะมีลักษณะเกร็งหรือกางแขนกางขา
ยั่วยวน ลักษณะใบหน้าและท่าทางการยั่วยวนนั้น มักใช้กับตัวการ์ตูนผู้หญิง จะเน้นได้จาก สายตาจะคล้ายกับอารมณ์โกรธ แต่ปากยิ้ม ท่าทางจะดูอ้อนแอ้น นอกจากลักษณะใบหน้าและท่าทางแล้วนั้นยังสามารถใช้การแต่งตัวของการ์ตูนเป็นสื่อ ให้ดูเซ็กซี่มากขึ้น
นั่งอารมณ์ดี ลักษณะใบหน้าและท่าทางของการนั่ง แบบอารมณ์ดีนั้นก็คือการนั่งท่าสบายๆและยิ้มแย้มมีความสุข ซึ่งจะกล่าวถึงฉากหลังในภาพนั้นๆก็จะ มีความสำคัญมาก เพราะถ้าฉากข้างหลังดูไม่สดใส ภาพการ์ตูนจะยิ้มอย่างไรก็ อาจ ไม่สอดคล้องกัน
ลักษณะใบหน้าและท่าทางของคนเดินชนกัน จะมีลักษณะคล้ายๆใบหน้าตกใจแต่การเดินชนกันจะให้สังเกตุว่าจะมีแรง กระแทกอยู่รอบๆตัวซึ่งเป็นลูกเล่นที่น่า เอามาใช้ในการเขียนการ์ตูนเพราะจะทำให้ ดูมีการเคลื่อนไหวขึ้น
มุมมองของภาพ
การเล่าเรื่องด้วยภาพในงานแอนิเมชั่น ความหมายที่เกิดจากการใช้ขนาดภาพ มุมกล้อง การเคลื่อนที่ ล้วนเป็นภาษาสากลซึ่งคนทั้งโลกดูแล้วเข้าใจได้ตรงกัน คนส่วนใหญ่สื่อสารกับภาษาภาพในภาพยนตร์โดยไม่รู้ตัว แต่สำหรับคนที่ต้องทำงานอยู่เบื้องหลังแล้วการไม่รู้หลักการใช้ภาพในการสื่อสารความหมายและอารมณ์ความรู้สึกก็คงไม่ต่างจากคนที่ขับรถโดยไม่รู้ว่าอุปกรณ์ต่างๆในรถ มีหน้าที่ทำงานอย่างไร
บทภาพ คือภาษาเขียนในบทแอนิเมชั่นจะถูกแปลเป็นภาษาภาพ โดยเน้นให้ได้ความหมายที่ชัดเจน ควบคู่ไปกับอารมณ์ของภาพที่ทะลุทะลวงไปยังผู้ชม ไม่ว่าเศร้า ตื่นเต้น น่ากลัว ชวนหัว หรืออื่นๆ
องค์ประกอบหลักๆ ในภาษาภาพมีอยู่สามอย่าง ได้แก่ หนึ่ง ขนาดภาพ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็อาจเปรียบได้กับพยัญชนะในภาษาไทย สอง มุมกล้อง ซึ่งอาจเปรียบได้กับสระ และสาม การเคลื่อนกล้อง ซึ่งก็คงเหมือนกับวรรณยุกต์เมื่อนำองค์ประกอบทั้งสาม มาประกอบเข้าด้วยกัน ก็จะได้หนึ่งภาพ เป็นเสมือนหนึ่งคำที่สมบูรณ์ด้วยความหมายและอารมณ์ความรู้สึก
1. ภาพไกลมาก หรือ Extreme Long Shot (EXS)
เป็นขนาดภาพที่กว้างไกลมาก ขนาดภาพนี้มักใช้ในฉากเปิดเครื่องหรือเริ่มต้นเพื่อบอกสถานที่ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน ปกติฉากที่เปิดโดยใช้ภาพขนาดนี้มักมีขนาดกว้างใหญ่ เช่นมหานครซึ่งเต็มไปด้วยหมู่ตึกสูงเสียดฟ้า, ท้องทะเลกว้างสุดลูกหูลูกตา, ขุนเขาสูงตระหง่าน,ฉากการประจันหน้ากันในสงคราม, ฉากการแสดงมหกรรมคอนเสิร์ต ฯลฯ
จุดเด่นของภาพ Extreme Long Shot อยู่ตรงความยิ่งใหญ่ของภาพ ซึ่งสามารถสร้างพลังดึงดูดคนดูไว้ได้เสมอ
2. ภาพไกล หรือ Long Shot (LS)
เป็นขนาดภาพที่ย่อมลงมาจากภาพ Extreme Long Shot คือ กว้างไกลพอที่จะมองเห็นเหตุการณ์ โดยรวมทั้งหมดได้ เมื่อดูแล้วรู้ได้ทันทีว่าในฉากนี้ ใครทำอะไร อยู่ที่ไหนกันบ้างเพื่อให้คนดูไม่เกิดความสับสนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวละครในฉากนั้นๆ ถือเป็นขนาดภาพที่เหมาะกับการเปิดฉาก หรือเปิดตัวละคร เพื่อให้เห็นภาพรวม ก่อนที่จะนำคนดูเข้าไปใกล้ตัวละครมากขึ้นในช็อต (Shot) ต่อไป
แต่ในขณะที่เหตุการณ์ดำเนินไป เราก็ยังสามารถใช้ภาพ Long Shot ตัดสลับกับภาพขนาดอื่นๆ ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในเรื่อง ถ้าเป็นช่วงที่ต้องการแสดงให้เห้ท่าทางของตัวละครมากกว่าอารมณ์สีหน้าก็ควรใช้ภาพขนาดนี้
3. ภาพปานกลาง หรือ Medium Shot (MS)
เป็นภาพที่คนดูจะไม่ได้เห็นตัวละครตลอดทั้งร่างเหมือนภาพ Long Shot แตจะเห็นประมาณครึ่งตัว เป็นขนาดภาพที่ทำให้รายละเอียดของตัวละครมากยิ่งขึ้น เหมือนพาคนดูก้าวไปใกล้ตัวละครให้มากขึ้น ภาพขนาดนี้ถูกใช้บ่อยมากกว่าภาพขนดอื่นๆ เพราะสามารถให้รายละเอียดได้มากไม่น้อยเกินไปคือคนดูจะได้เห็นทั้งท่าทางของตัวละคร และอารมณ์ที่ฉายบนสีหน้าไปพร้อมๆ กัน
4. ภาพใกล้หรือ Close up (CU)
เป็นขนาดภาพที่ตรงกันข้ามชนิดสุดขั้วกับภาพ Extreme Long Shot คือจะพาคนดูเข้าไปใกล้ตัวละครมากๆ เช่น แค่ตา ปาก จมูก เล็บ รวมเปถึงการถ่ายสิ่งของอื่น ๆ อย่างชิดติด เพื่อให้เห็นรายละเอียดกันอย่างจะแจ้ง เช่น ก้อนแข็งในแก้ว, หัวแหวน, ไกปืน เป็นต้น เป็นต้น
การเลือกใช้ขนาดของภาพต้องให้มีความหลากหลาย ระวังอย่าใช้ภาพที่มีขนาดเท่ากันมาเรียงต่อกันบ่อยๆ เพราะจะทำให้งานดูไม่น่าสนใจวิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาการใช้ขนาดภาพ คือหาภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่โปรดปรานมาสักเรื่องเปิดดูอย่างช้าๆ ค่อยๆเรียนรู้วิธีการใช้ขนาดภาพ ลองวิเคราะห์ดูว่าทำไมเขาถึงเลือกใช้ขนาดภาพแบบนั้น รับรองในไม่ช้า คุณจะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมากทีเดียว
ที่มา : http://www.kanlayanee.ac.th/animation/web/eyepicture.htm#
ที่มา : https://www.lkp.ac.th/animation