ประเภทและรูปแบบของงานแอนิเมชั่น
การสร้างผลงานด้านแอนิเมชั่นนั้น สามารถทำขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของชิ้นงานที่เราทำขึ้นอยู่ในแบบใด จึงจะเข้ากับเทคนิคในการสร้างในรูปแบบต่างๆ โดยพื้นฐานแล้วเราแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ได้แก่ Draw Animation, Model Animation, Computer Animation
ซึ่งทั้งสามอย่างสามารถผลิตหรือสร้างผลงานแอนิเมชั่นออกมาแตกต่างกันดังนี้
1. Draw Animation เป็นการวาดภาพแต่ละภาพด้วยมือต่อเนื่องกันไปจนได้เป็นแอนิเมชั่นการสร้างแอนิเมชั่นเพียงไม่กี่วินาทีด้วยแอนิเมชั่นประเภทนี้ต้องใช้ภาพวาดหลายพันภาพ ทำให้ต้องใช้เวลาในการผลิตนานและต้องใช้นักวาดแอนิเมชั่นจำนวนมาก ส่งผลให้ใช้ต้นทุนสูงด้วย ในการที่จะผลิตงานด้าน Draw Animationมีเทคนิคในการสร้างผลงานด้านแอนิเมชั่นได้หลากหลายรูปแบบอาทิเช่น Onion Skin เป็นเทคนิคของเซลแอนิเมชั่น
โดยการวาดภาพจำลองการเคลื่อนที่ของวัตถุ อย่างต่อเนื่อง ในแต่ละเฟรมซ้อนกัน ทำให้มองเห็นลำดับในการแสดงภาพเคลื่อนไหวในแต่ละเฟรมได้ เอนิเมเตอร์จะวางภาพในแต่ละเฟรมซ้อนทับเฟรมก่อนหน้า ทำให้การเขียนภาพการเคลื่อนไหวที่ในเฟรมถัดไปทำได้ง่ายขึ้น รวมถึง Flip Book เป็นการแสดงภาพที่วาดลงบนแต่ละหน้าของสมุดทีละภาพเรียงกันไป โดยแต่ละหน้าของสมุดจะถูกเปิดต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว ทำให้มองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?time_continue=22&v=_wT4gHiJ26o
2. Model Animation หรือ Stop Motion เป็นเทคนิคการปั้น หรือการสร้างโมเดลโดยใช้ดินน้ำมัน หรือวัสดุใดๆก็ตามในการสร้าง และทำการขยับทีละนิดเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว และใช้กล้องบันทึกภาพทุกขณะที่ทำการขยับหรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุ จึงทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว แต่ต้องใช้ความละเอียดมาก ภาพจึงจะออกมาดูเหมือนจริง รวมถึงต้องมีการกำหนดจังหวะของแต่ละฉากอย่างชัดเจนไว้ก่อนหน้าที่จะเริ่มทำการถ่ายทำ
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?time_continue=22&v=_wT4gHiJ26o
3. Computer Animation เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างแอนิเมชั่นโดยใช้โปรแกรมต่างๆ เช่น Maya, 3D MAX ,Adobe After Effect หรือ Flash โดยจะใช้เครื่องมือที่โปรแกรมได้จัดเตรียมไว้ เช่นการปรับผิวของวัตถุ และรอยหยักตามขอบภาพนอกจากนี้ยังสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ไม่สามารถถ่ายทำได้จริงให้เกิดขึ้นได้ด้วย อ าทิเช่น เทคนิค Rotoscope เป็นเทคนิคในการสร้างแอนิเมชั่นในยุคแรก โดยแอนิเมเตอร์ใช้เพื่อลอกลายเส้นของวัตถุในแต่ละเฟรมของแอนิเมชั่นแล้วนำไปสร้างโครงร่างที่เรียกว่า Matte โดยลายเส้นของวัตถุจะถูกแทนที่ด้วยเส้นในลักษณะต่างๆ ทำให้ได้ภาพที่แตกต่างไปจากเดิม
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=NEzJH-JrAdw&t=4s
4. เทคนิค RACK MOTION เป็นเทคนิคการซ้อนภาพ หรือเอฟเฟคบนจุดแท็ก(Track) ที่มีการวางแผนงาน
ก่อนการถ่ายทำขึ้น ซึ่งจุดแท็กจะทำหน้าที่บอกถึงตำแหน่งระหว่างภาพหรือวิดีโอ กับสิ่งที่เราเพิ่มเข้าไปในตัวงาน ซึ่งด้วยเทคนิคนี้ เราสามารถสร้างงานในหลากหลายรูปแบบ และยังทำให้ภาพที่ออกมาดูสมจริงขึ้นเป็นอย่างมาก รวมถึงการสร้างผลงานแอนิเมชั่น
จากคอมพิวเตอร์ทั้งหมดซึ่งจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการถ่ายทำ รวมถึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ตามที่วางแผนไว้ โดยอาจใช้เวลาในการทำมากหรือน้อยกว่าการถ่ายทำจริง ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ของชิ้นงาน เช่น ก้านกล้วย ยักษ์ หรืออย่างผลงานต่างประเทศอย่าง Madagascar, Toys story เป็นต้น
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=nWRfdn6jaC8
ที่มา : https://www.lkp.ac.th/animation