top of page

1. ความเป็นมาของการสร้างภาพเคลื่อนไหว

 

             ลักษณะความต่อเนื่องของการมองเห็นถูกค้นพบตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 และนำมา ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เรียกว่า Zoetrope และ Flipbook 

 

          - Zoetrope มีลักษณะเป็นทรงกระบอกหมุนบนแกนสมมาตรของตัวเองด้านในของทรงกระบอกโดยรอบเป็นลำดับของรูปวาดเขียน ซึ่งแต่ละรูปจะแตกต่างกับรูปที่อยู่ถัดไปไม่มาก ทรงกระบอกจะมีรองยาวตัดด้านข้างระหว่างภาพดังนั้นเมื่อ ทรงกระบอกถูกหมุน จะสามารถมองผ่านร่องยาวนั้นเข้าไปเห็นภาพบนผนังของทรงกระบอกด้านตรงกันข้ามได้ขณะทรงกระบอกหมุนบนแกนนั้นจะแสดงลำดับของภาพต่าง ๆ ซึ่งจะให้เกิดภาพเคลื่อนไหว

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : http://www.cutoutfoldup.com/1108-zoetrope.php

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?time_continue=2&v=_YzUJ0zEgyA

  - Flipbook เป็นอุปกรณ์สร้างภาพเคลื่อนไหว โดยทำจากกระดาษ ในแต่ละหน้าประกอบด้วยภาพหนึ่งภาพและจะมีความแตกต่างจากหน้าต่อไปเพียงเล็กน้อยในลักษณะต่อเนื่องกันจำนวนหนึ่ง เมื่อต้องการดูภาพเคลื่อนไหวจะใช้มือกดที่ขอบ Flipbook ด้านหนึ่งแล้วค่อย ๆ ปล่อยกระดาษอย่างต่อเนื่อง จะปรากฏภาพเคลื่อนไหวบนกระดาษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Un-BdBSOGKY

          ต่อมา "โทมัส อัลวา เอดิสัน" ได้พัฒนาการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการถ่ายภาพนิ่งลงบนฟิล์ม แล้วใช้เครื่องฉาย ที่มีกำลังไฟสูง ๆ ส่องผ่านเพื่อให้เกิดภาพบนจอ ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาเป็นภาพยนตร์ที่เห็นกันในปัจจุบันโดยพัฒนาความเร็วในการเลื่อนแผ่นฟิล์ม ให้มีความเร็วถึง 24 ภาพต่อวินาที การฉายภาพยนตร์นั้นเริ่มต้นกันด้วยฟิล์ม 8 ม.ม. ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาเป็น 16 ม.ม. จากนั้นก็ได้พัฒนาไปสู่ 35 ม.ม. ซึ่งเป็นระบบที่เราใช้กันอยู่ ในปัจจุบัน จนกระทั่งมาถึงระบบใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า “Digital”

         ปัจจุบันภาพเคลื่อนไหวสามารถสร้างขึ้นได้จากคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์มากมายทั้งทางด้านบันเทิงและทางด้านการศึกษา การสร้างภาพเคลื่อนไหวใกล้เคียงความเป็นจริง ต้องอาศัยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวนั้นต้องเป็นโปรแกรมเฉพาะ ซึ่งมีให้เลือกใช้งาน จำนวนมาก โปรแกรม Flash  จัดเป็นโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ได้รับความนิยมสูง

2. ความหมายของแอนิเมชั่น

           แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึงการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการฉายภาพนิ่งหลายๆภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง โดยหลักการแล้วไม่ว่าสร้างภาพหรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตามเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็วตั้งแต่ 16 เฟรม ต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา

 

          แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช

 

          แอนิเมชัน (อังกฤษ: animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูงโดยการนำภาพนิ่งมาเรียงต่อกัน

 

         การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือ
คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือหรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ
จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดหรือสตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป
เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา

 

         ในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบแอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มีหลายรูปแบบไฟล์เช่น GIF APNG MNG SVG แฟลช และไฟล์สำหรับเก็บวีดิทัศน์ประเภทอื่น ๆ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

          แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช

          คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน “animare” ซึ่งมีความมหมายว่าทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้ (Paul Wells , 1998 : 10 )

 

        แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง “การสร้างภาพเคลื่อนไหว” ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกัน  และแสดงผลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision) เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉา่ย อย่างต่อเนื่อง เรตินาระรักษาภาพนี้ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 1/3 วินาที หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่องกัน  แม้ว่าแอนิเมชั่นจะใช้หลักการเดียวกับวิดิโอ   แต่แอนิเมชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมาย  เช่นงานภาพยนตร์  งานโทรทัศน์  งานพัฒนาเกมส์  งานสถาปัตย์งานก่อสร้าง งานด้านวิทยาศาสตร์  หรืองานพัฒนาเว็บไซต์  เป็นต้น (ทวีศักดิ์  กาญจนสุวรรณ : 2552 : 222 )

 

        สรุปความหมายของแอนิเมชั่นคือ การสร้างสรรค์ลายเส้นรูปทรงต่างๆให้เกิดการเคลื่อนไหวตามความคิดหรือจินตนาการปิยกุล  เลาวัณย์ศิริ (2532 : 931-932) ได้สรุปหลักการและคุณสมบัติของภาพยนตร์แอนิเมชั่นเอาไว้ดังนี้
       1. สามารถใช้จินตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขต
       2. สามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนและเข้าใจยากให้ง่ายขึ้น
       3. ใช้อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
       4. ใช้อธิบายหรือเน้นส่วนสำคัญให้ชัดเจนและกระจ่างขึ้นได้

 

ที่มา : http://thanetnetwork.com/animation/web/animation.htm

ที่มา : https://www.lkp.ac.th/animation

pic1.jpg
01.png
bottom of page